Home Anime Record of Ragnarok (มหาศึกคนชนเทพ) จากมังงะดังสู่ฉบับอนิเมะโดย Netflix

[รีวิว] Record of Ragnarok (มหาศึกคนชนเทพ) จากมังงะดังสู่ฉบับอนิเมะโดย Netflix [Anime]

[Review] Record of Ragnarok (มหาศึกคนชนเทพ) [2021 – Present]

Record of Ragnarok (มหาศึกคนชนเทพ, Shūmatsu no Warukyūre) อนิเมชั่นซีรีส์แนว Action Fantasy ของ Netflix Original ที่ดัดแปลงมาจาก มังงะชื่อเรื่องเดียวกัน ของอาจารย์ Chika Aji, Takumi Fukui และ Shinya Umemura

ดูแลการผลิตโดย Warner Bros. Japan
ผลิตโดยสตูดิโอ Graphinica (Season 1) และ Yumeta Company (Season 2)
เขียนบทโดย Kazuyuki Fudeyasu
ดูแลควบคุมงานสตอรี่บอร์ดและภาพรวมทั้งหมดโดย Masao Ōkubo

รับชมได้ทางช่อง Netflix

– ซีซั่น 1 มีจำนวน 12 ตอน มีการต่อสู้ทั้งหมด 3 คู่ ซึ่งปิดท้ายด้วยฉากเปิดตัวของ เฮอร์คิวลีส กับ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ (ถ้าเทียบกับฉบับมังงะก็จะอยู่ที่ประมาณเล่ม 5)
– ซีซั่น 2 (พาร์ทแรก) มีจำนวน 10 ตอน มีการต่อสู้ทั้งหมด 2 คู่ ซึ่งจบที่การต่อสู้ของคู่ ศิวะ กับ ไรเด็น ทาเมเอมอน (ถ้าเทียบกับฉบับมังงะก็จะอยู่ที่ประมาณกลางเล่ม 11)
– ซีซั่น 2 (พาร์ทสอง) มีจำนวน 5 ตอน จบที่การต่อสู้ของคู่ ซีโร่ฟุคุ กับ ศากยมุนี (ถ้าเทียบกับฉบับมังงะก็จะอยู่ที่ประมาณกลางเล่ม 14)

Record of Ragnarok (มหาศึกคนชนเทพ) Season 1 (Netflix) [2021]

นื้อเรื่อง/เรื่องย่อ
ในทุกๆ 1,000 ปีเหล่าทวยเทพจากทั่วโลกจะเข้าร่วมประชุมกันที่สภาสูงวัลฮัลลา เพื่อชี้ชะตาของมวลมนุษยชาติว่าจะให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปอีก 1,000 ปี หรือจะมอบจุดจบให้กับพวกเขา

ซึ่งในครั้งนี้ ประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติที่มีอายุมาอย่างยาวนานถึงเจ็ดล้านปีกำลังจะจบสิ้นลง เมื่อเหล่าทวยเทพจากทั่วโลกต่างลงมติเป็นเอกฉันท์มอบจุดจบให้กับมวลมนุษยชาติ

แต่แล้ว บรุนฮิลด์ พี่ใหญ่แห่ง 13 พี่น้องวัลคีรีซึ่งเป็นลูกครึ่งเทพกับมนุษย์ ได้เข้ามาขัดขวางก่อนที่ ซุส ประธานแห่งสภาวัลฮัลลาจะประกาศคำตัดสิน เพราะเห็นว่าการทำลายล้างแบบนั้นไม่ค่อยจะโสภาสักเท่าไหร่ เธอจึงได้ยื่นข้อเสนอให้เหล่าทวยเทพใช้ความเมตตาและพลังอำนาจในการทดสอบเหล่ามนุษย์ดูก่อนว่าคู่ควรที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกหรือไม่

โดยข้อเสนอของ บรุนฮิลด์ นั้นก็คือขอให้เปิด ศึกแร็กนาร็อก ศึกต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์ขึ้น

ซึ่งตามที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญวัลฮัลลานั้น ศึกแร็กนาร็อก ก็คือศึกการประลองระหว่างเหล่าทวยเทพกับมนุษย์แบบตัวต่อตัว โดยแต่ละฝ่ายจะต้องคัดเลือกตัวแทนจำนวนฝ่ายละ 13 คนมาทำการต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว หากฝ่ายใดชนะถึง 7 ครั้งก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ นั่นหมายความว่า หากมนุษย์เป็นฝ่ายชนะก็จะสามารถอยู่รอดต่อไปได้อีกพันปี แต่ถ้าหากเป็นฝ่ายแพ้ก็จะต้องพบจุดจบทันที

กฎนี้ไม่เคยถูกนำมาบังคับใช้เลยตั้งแต่ที่มนุษยชาติถือกำเนิดมา เพราะยังไงเหล่าทวยเทพแต่ละองค์ต่างก็คิดว่ามนุษย์ไม่มีทางสู้เทพเจ้าได้แน่นอน ดังนั้น บรุนฮิลด์ ซึ่งรับรู้ถึงอีโก้ของเหล่าทวยเทพทั้งหลายเป็นอย่างดี จึงได้พูดในเชิงสบประมาทเพื่อยั่วยุให้เหล่าทวยเทพให้รับคำท้านี้ และก็เป็นไปตามคาด เหล่าทวยเทพจุดเดือดต่ำทั้งหลาย ต่างก็เดือดดาลไปกับคำสบประมาทนั้น จึงยินยอมรับคำท้าทายในครั้งนี้

และแล้วการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติจึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยที่ บรุนฮิลด์ จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมตัวแทนของฝ่ายมนุษย์ในการลงสู้ศึกที่มีชะตาชีวิตของมวลมนุษยชาติเป็นเดิมพัน

ตัวแทนฝ่ายเทพตัวแทนฝ่ายมนุษย์
ซุส (กรีก) มหาเทพสูงสุดของกรีกจิ๋นซีฮ่องเต้ (จีน) จักรพรรดิองค์แรกของจีน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฉิน
ศากยมุนี (พระพุทธเจ้า) (อินเดีย) ศาสดาแห่งศาสนาพุทธกษัตริย์ลีโอนีดัส (สปาร์ตา) กษัตริย์นักรบแห่งสปาร์ตา
โลกิ (นอร์ส) เทพแห่งความเจ้าเล่ห์นิโคลัส เทสล่า (สหรัฐ) นักประดิษฐ์อัจฉริยะผู้ค้นพบไฟฟ้ากระแสสลับ
อพอลโล (กรีก) เทพแห่งดวงอาทิตย์ซาซากิ โคจิโร่ (ญี่ปุ่น) นักดาบผู้ใช้วิชากันริว
โพไซดอน (กรีก) มหาเทพแห่งมหาสมุทรไรเด็น ทาเมมอน (ญี่ปุ่น) นักซูโม่ในตำนาน
ซูซาโนะโอะ โนะ มิโคโตะ(ญี่ปุ่น) เทพเจ้าแห่งทะเลและพายุอดัม (ฮิบรู) บุตรแห่งพระเจ้า มนุษย์คนแรกในไบเบิล
ธอร์ (นอร์ส) เทพเจ้าสายฟ้าเกรเกอรี รัสปูติน (รัสเซีย) พ่อมดผู้ปั่นป่วนราชวงศ์โรมานอฟ
เฮราเคลส (เฮอร์คิวลิส) (กรีก) วีรบุรุษลูกครึ่งเทพมนุษย์ที่ทรงพลังที่สุดลิโป้ เฟยเสียง (จีน) นักรบที่แข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก
บิชามอนเท็น (ท้าวเวสสุวรรณ) (ญี่ปุ่น) เทพเจ้าแห่งโชคลาภ เทพสงครามโอคิตะ โซจิ (ญี่ปุ่น) นักดาบอัจฉริยะแห่งชินเซ็นกุมิ
อนูบิส (อียิปต์) เทพแห่งความตายนอสตราดามุส (ฝรั่งเศส) นักพยากรณ์ชื่อก้องโลก
โอดิน (นอร์ส) มหาเทพสูงสุดของนอร์ส ผู้รอบรู้ซีโม เฮยา (ฟินแลนด์) มือปืนผู้สร้างสถิติฆ่าสูงสุด
เบลเซบับ (ฮิบรู) จ้าวนรก ปีศาจแมลงวันซากาตะ กินโทคิ (ญี่ปุ่น) คินทาโร่ในตำนานญี่ปุ่น
ศิวะ (อินเดีย) มหาเทพผู้ทำลายล้างและผู้สร้างของพราหมณ์-ฮินดูแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ (อังกฤษ) ฆาตกรโรคจิตแห่งลอนดอน

ความรู้สึกหลังดูจบ
สำหรับความสนุกของการ์ตูนเรื่องนี้ คือ ความกาว ของผู้แต่ง ที่สามารถมโนและโม้ให้มนุษย์สามารถต่อสู้ได้อย่างสูสีกับเทพเจ้า ดังนั้นสำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่านฉบับมังงะหรือไม่เคยรู้จักกับการ์ตูนเรื่องนี้มาก่อน ต้องขอเตือนไว้เลยว่า ก่อนที่คุณจะดูขอให้คุณโยนตรรกะความสมเหตุสมผลทั้งหมดออกไปก่อนนะฮะ ยิ่งถ้าคุณเคยรู้จักประวัติของตัวละครแต่ละคนแล้วละก็ ยิ่งต้องโยนมันทิ้งไปก่อนเลยฮะ แล้วจากนั้นค่อยมาเสพความกาวแบบสุดมันส์ของการ์ตูนเรื่องนี้กันฮะ

ซึ่งในฉบับอนิเมะนี้ ได้มีการเล่าเรื่องราวเสริมแต่งในบางจุดเพิ่มขึ้นจากในฉบับมังงะ ดังนั้น ถ้าว่ากันในด้านของเนื้อหาแล้ว ค่อนข้างที่จะให้รายละเอียดและสื่ออารมณ์ของตัวละครแต่ละตัวได้ได้ชัดเจนดี

แต่ในทางกลับกัน มันก็กลายเป็นจุดเสียจุดใหญ่ที่ทำให้คนที่เคยติดตามกันมาตั้งแต่ในฉบับมังงะแล้วรู้สึกไม่ค่อยชอบใจเท่าไรนัก เพราะมันได้ลดทอนความสนุกในส่วนของฉากแอ็คชั่น ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการ์ตูนเรื่องนี้ไปอย่างมากเลยทีเดียว

แต่จุดที่ทำให้รู้สึกแย่ที่สุดสำหรับอนิเมะชุดนี้ ก็คือการนำเสนอฉากการต่อสู้ที่มาในรูปแบบเหมือนงาน PPT – Power Point ภาพตัดแปะอ่ะฮะ อธิบายง่ายๆ ประมาณว่าในฉากต่อสู้นั้นแทบจะไม่มีภาพการเคลื่อนไหวที่เป็นแบบต่อเนื่อง (คอนทินิว) ให้เราได้กันแบบมันส์ๆ เลย ส่วนใหญ่เป็นลักษณะภาพนิ่งๆ ภาพแอ็คท่า ฉากเข้าปะทะกันแล้วก็ค้างอยู่ในท่านั้น แล้วก็เล่าย้อนปูมหลังของแต่ละคนสลับกับฉากการต่อสู้แบบแอ็คท่าที่เป็นภาพนิ่ง บทสนทนา ซึ่งก็จะเป็นแบบนี้ตลอดวนลูปไป ปะทะด้วยภาพนิ่ง ย้อนเล่าเรื่อง ปะทะด้วยภาพนิ่ง ย้อนเล่าเรื่อง แล้วจู่ๆ ก็ชนะซะงั้น แถมบทพูดยังเยิ่นเย้อ เวิ่นเว้อมาก ฉากยืดพร่ำเพรื่อเยอะแยะไปหมด

อีกทั้งลายเส้นโดยรวมก็ดูเหมือนงานเผาไปสักหน่อย โดยเฉพาะฉากประมาณ Zoom Out นี่ชัดเลยว่ารายละเอียดหายไปเยอะ อย่างในส่วนของใบหน้าตัวละครนี่กลายเป็นปีศาจไร้หน้ากันเลยทีเดียว

พอมาต่อที่ซีซั่น 2 ซึ่งห่างจากซีซั่น 1 ประมาณเกือบ 2 ปี เปิดเรื่องมาด้วยคู่ของ เฮอร์คิวลีส กับ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ นี่รู้สึก ว้าววววว!!!! ขึ้นมาเลยฮะ งานดีผิดหูผิดตาเลย ฉากการต่อสู้ทำออกมาได้ดีขึ้นเยอะเลยฮะ สนุกจริงๆ (ซึ่งตอนที่อ่านจากมังงะก็ชอบการต่อสู้ของคู่นี้ที่สุดฮะ) ไองานประเภทแบบ PPT เหมือนในซีซั่น 1 นี่หายไปเลย ค่อยสมกับที่เป็นงานแบบอนิเมะหน่อย และที่สำคัญคือ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ดูจะโหดและเลวกว่าในฉบับมังงะพอสมควรเลยฮะ

สรุป >> ให้แค่ 7 เต็ม 10 ละกันฮะ เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยอ่านมังงะมาก่อนมากกว่า เพราะถ้าเคยอ่านมาแล้ว ส่วนใหญ่จะผิดหวัง (เพราะคาดหวังความมันส์เอาไว้เยอะ)

อ้อ เกือบลืมพูดถึงเพลงประกอบที่เป็นเป็นเปิด ขอบอกว่ามันส์โคตร กับเพลง “KAMIGAMI (神噛) ศิลปิน Maximum the Hormone ที่มาในแนว Hard Core สุดโหดฟังแล้วเข้ากันสุดๆ


รายชื่อการจับคู่ใน ศึกแร็กนาร็อก

Season 1
คู่ที่ 1 > ธอร์ ปะทะ ลิโป้ เฟยเสียง
คู่ที่ 2 > ซุส ปะทะ อดัม
คู่ที่ 3 > โพไซดอน ปะทะ ซาซากิ โคจิโร่

Season 2 (Part 1)
คู่ที่ 1 > เฮอร์คิวลิส ปะทะ แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์
คู่ที่ 2 > ศิวะ ปะทะ ไรเด็น ทาเมเอมอน

Season 2 (Part 2)
คู่ที่ 3 > ซีโร่ฟุคุ ปะทะ ศากยมุนี

ฝากรีวิวเรื่องอื่นๆ ด้วยนะฮะ คลิกที่ลิ้งค์นี้ได้เลย

Exit mobile version